ทุกคนกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากอลูมิเนียมกันดี ประโยชน์ของมันคือ น้ำหนักเบา มีความทนทานใช้เเทนเหล็กได้ คุณรู้หรือไม่ว่าโดยทั่วไปเราไม่ได้นำอลูมิเนียมบริสุทธิ์มาใช้โดยตรง เเต่ในรูปเเบบของอัลลอย
“อลูมิเนียมอัลลอย (Aluminum Alloy)” คือ การผสมกับแร่โลหะอื่นๆ อย่างน้อย 1 ชนิดกับอลูมิเนียม เพื่อให้อลูมิเนียมมีคุณสมบัติอื่นๆที่ดีขึ้นนั่นเอง
ในสมัยก่อน การกำหนดมาตรฐานการใช้งานของอลูมิเนียมนั้นวุ่นวายและสับสนมาก ในหลายๆประเทศต่างก็มีมาตรฐานของตัวเอง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1970 ก็มีการวางมาตรฐานสากล เรียกว่า IADS (The International Alloy Designation System) ซึ่งคิดค้นโดย US Aluminum Association เป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดมาตรฐานการใช้งานของอลูมิเนียม ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและใช้กันทั่วโลก
การกำหนดการใช้งานของอลูมิเนียม (Aluminum Designation) มีดังต่อไปนี้
เลขหลักแรก: Major Alloy | |
เลข 1 | หมายถึง มีอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบไม่ต่ำกว่า 99% |
เลข 2 | หมายถึง มีทองแดงเป็นส่วนผสม |
เลข 3 | หมายถึง มีแมงกานีสเป็นส่วนผสม |
เลข 4 | หมายถึง มีซิลิคอนเป็นส่วนผสม |
เลข 5 | หมายถึง มีแมกนีเซียมเป็นส่วนผสม |
เลข 6 | หมายถึง มีแมกนีเซียมและซิลิคอนเป็นส่วนผสม |
เลข 7 | หมายถึง มีสังกะสี (Zinc) เป็นส่วนผสม |
เลข 8 | หมายถึง มีธาตุอื่นๆเป็นส่วนผสม (เช่น ลิเทียม) |
เลขหลักที่ 2: Impurity and Control | |
เลข 0 | เลขหลักนี้ จะมีค่าเป็น 0 เมื่ออลูมิเนียมถูกผลิตขึ้นในตอนแรก หมายถึงยังไม่มีการควบคุม |
เลข 1 – 9 | ภายหลังเลขหลักนี้สามารถเป็นได้ตั้งแต่ 1 ถึง 9 หากมีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมี มีการควบคุมแล้ว |
เลขหลักที่ 3 และ 4: Percentage of Aluminum or Registered Data | |
เลข 1 | ถ้าเลขหลักแรกเป็นเลข 1 จะหมายถึงปริมาณของอลูมิเนียมที่อยู่นอกเหนือจาก 99% (ตัวอย่างเช่น 1025 หมายถึง มีอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ 99.25% อีก 0.75% จะเป็นความไม่บริสุทธิ์ของอลูมิเนียมและไม่ได้ถูกควบคุม) |
ไม่ใช่เลข 1 | ถ้าเลขหลักแรกไม่ใช่เลข 1 จะหมายถึงเลขที่ได้ลงทะเบียนไว้กับ IADS ซึ่งจะต้องไปศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารของ IADS |
อักษรตัวที่ 5 และเลขชุดสุดท้าย: Treating or Temper | |
F (Fabricated) | หมายถึง การหล่อขึ้นรูป, ไม่มีตัวเลขต่อท้าย |
W (Solution Heat Treat) | หมายถึง การอบเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างให้เป็นสารละลายของแข็ง, ไม่มีตัวเลขต่อท้าย |
O (Annealed) | หมายถึง การอบอ่อน, ไม่มีตัวเลขต่อท้าย |
H (Strain Hardening) | หมายถึง สภาพของงานแข็งตัวเองเนื่องจากความเครียด |
H1x | คือ Strain Hardening เท่านั้น |
H2x | คือ Strain Hardening และมีการอบอ่อน (Anneal) เป็นบางส่วน |
H3x | คือ Strain Hardening และมีการทำให้สเถียร (Stabilized) |
Hx2 | คือ ระดับความแข็ง 1/4 |
Hx4 | คือ ระดับความแข็ง 1/2 |
Hx6 | คือ ระดับความแข็ง 3/4 |
Hx8 | คือ ระดับความแข็งเต็มที่ |
Hx9 | คือ ระดับความแข็งที่แข็งเป็นพิเศษ |
T (Thermally Treated) | หมายถึง การอบด้วยความร้อน |
โดยรวมแล้วยังมีหลักเกณฑ์ที่ถูกกำหนดขึ้นอีกมากโดย IADS ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ใน Post นี้ (เกรงว่าบทความจะยาวจนเกินไป :P) ซึ่งท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ตาม Referenecs ดังต่อไปนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก:
https://www.esabna.com/us/en/education/blog/understanding-the-aluminum-alloy-designation-system.cfm
http://www.aluminiumlearning.com/html/index_casting.html
ติดต่อบีไวด์ดิ้งได้ที่