แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตเป็นวัสดุทางเลือกที่นิยมนำไปใช้ในงานตกแต่งอาคารกันมากขึ้น ด้วยความหลากสีหลายประเภทของแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิท ทำให้สไตล์การตกแต่งหลากหลายมากขึ้น วันนี้เรามี 3 เทคนิคการจับคู่สีแผ่นคอมโพสิต
นอกจากจะเป็น guideline การเลือกสีแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตในงานตกแต่งเเล้ว ใครที่กำลังเเต่งบ้าน ก็ยังนำมาเป็นไอเดียประยุกต์กับการทาสีผนังห้อง หรือเลือกเฟอร์นิเจอร์ คุมโทน บาลานซ์สีให้ดูสวยงามอีกด้วย
1. เข้าใจวงล้อสี (Color Wheel)
วงล้อสีช่วยให้เราเห็นการจัดการหมวดหมู่ของสี เเละมองเห็นสีที่ผสานกันอย่างลงตัวได้ชัดขึ้น โมเดลวงล้อสีนี้จะประกอบด้วยสี 12 สี
เพื่อให้ง่ายต่อการใข้งาน คุณสามารถเช็ค digital color wheel ได้จาก https://www.colorschemer.com/color-picker/
ในบรรดา 12 สีที่อยู่ใน color wheel นี้เเบ่งตามที่มาได้ดังนี้

- สีหลัก (Primary Colors): เป็นเเม่สี 3 สี ได้เเก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง
- สีรอง (Secondary Colors): เกิดจากการผสมเเม่สีเข้าด้วย เกิดเป็น 3 สีตามมา คือ สีส้ม สีม่วง สีเขียว
- สีตติยภูมิ (Tertiary Colors): เกิดจากการผสมสีหลักและรอง ได้ 6 เฉดสีที่สามารถทำ ได้เเก่ เหลืองอมส้ม แดงอมส้ม เเดงอมม่วง นำ้เงินอมม่วง เขียวอมน้ำเงิน เขียวอ่อน
เริ่มต้นเลือกสีสำหรับการตกแต่งภายในใช้วงล้อ 12 สี เป็นตัวตัดสินใจการเเมทช์คู่สีหรือจับคู่สีแผ่นคอมโพสิตให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างดี
2. เลือกอุณหภูมิเเละอารมณ์ของสีให้เข้ากับห้อง
ตำแหน่งสีบนล้อสี สามารถแบ่งอุณหภูมิของสีได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- สีโทนร้อน เป็นสีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่น มีพลังงาน มีชีวิตชีวา ได้แก่ สีแดง สีส้มและสีเหลือง

- สีโทนเย็น เป็นสีที่ให้ความสงบและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สีโทนเย็นจะอยู่ในทางตรงกันข้ามกับโทนร้อน ได้เเก่ สีน้ำเงิน สีม่วงและสีเขียว

การเลือกอุณหภูมิสีสำหรับพื้นที่คุณควรพิจารณาขนาดของห้อง จุดประสงค์การใช้งาน ยกตัวอย่างการใช้สีอบอุ่น เช่น สีแดงที่ช่วยประตุ้นให้เกิดพลังงานสำหรับห้องรับประทานอาหาร สีเหลืองให้ดูสว่างสดใส ปลอดโปร่งสำหรับห้องนั่งเล่น
ในขณะที่เลือกสีเย็น โทนดำหรือนำเงินเข้มในห้องประชุมหรือห้องนอนทำให้รู้สึกสงบ เป็นส่วนตัว ดูหรูหรา หรือจะใช้โทนสีน้ำตาลในมุมส่วนกลางสำหรับอาคาร คอนโด เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ ผ่อนคลาย ตัดกับเฟอร์นิเจอร์สีเบจก็ได้

3. เลือกเเมทช์สีด้วย Colour schemes
Colour schemes คือ หลักการทฤษฎีสีที่ช่วยแนะนำคุณ ให้เลือกใช้สีที่มีอยู่ในวงล้อสีที่จะช่วยคุณจัดวางคู่สีแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตที่เหมาะสมกันได้อย่างลงตัว
3.1 Analogous
คือการเลือกโทนสีที่ใกล้เคียงกันจากตำแหน่งวงล้อสี เป็นการเซ็ทสีที่ค่อนข้างเรียบง่าย ถือว่าเป็นกลุ่มสีที่เข้ากันได้อย่างดี
การจัดกลุ่มเหล่านี้แบ่งออกเป็นสาม ใช้กฎ 60-30-10 สำหรับการเลือกสีที่สมดุล โดย 60% มาจากสีหลัก 30% มาจากสีรองและ 10% สีตติยภูมิ

ขอยกตัวอย่างการจัดกลุ่มสี ดังนี้
- สีเขียว (60%), เหลืองเขียว (30%) และเหลือง (10%)
- สีเหลืองส้ม (60%), ส้ม (30%) และแดงส้ม (10%)
- น้ำเงิน – เขียว (60%), น้ำเงิน (30%) และน้ำเงิน – ม่วง (10%)
- สีม่วง (60%), แดงม่วง (30%) และแดง (10%)

3.2 Complementary
นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีในการเลือกหยิบเอาสองสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนใช้วงล้อสี หรือเรียกว่าเป็นคู่สีที่ตัดกันมาใช้งานเพื่อเพิ่มความโดดเด่น

ตัวอย่างเช่น:
- สีเหลืองและสีม่วง: เพิ่มสีขาวหรือสีน้ำตาลช่วยเน้นสี
- สีส้มและสีน้ำเงิน: เพิ่มสีดำหรือสีขาวช่วยเน้นสี
- สีแดงและเขียว: เพิ่มสีทองหรือสีเงินช่วยเน้นสี


3.3 Split-complementary
คล้ายกับการจับคู่สีด้วยหลักการเดียวกับ Complimentary ที่ใช้คู่สีตรงกันข้าม เเต่เพิ่มการบาลานซ์สีด้วยเฉดสีทั้งสองข้างของด้านตรงข้าม
แนะนำให้เลือกใช้สีหลักเป็น base shade ที่ดูเป็นกลาง เเละเลือกสีคู่ตรงข้ามสีหลักอีก 2 ตัวตามวงล้อสี เเละตกแต่งห้องด้วยสี base นำเป็นหลัก เลือกตกแต่งเพิ่มด้วยเฟอร์นิเจอร์ใน 2 เฉดสีคู่ตรงข้าม เซ็ตสีนี้จะให้ความรู้สึกสมดุลกับห้องมากขึ้น


Getty Images

3.4 Triadic
คือการเลือกวาง 3 โทนสีภายในรูปสามเหลี่ยม ที่มีช่องว่างเท่ากันบนวงล้อสี การใช้สีประเภทนี้มักจะให้ความหลากหลายเฉดที่ดูโดดเด่น มีชีวิตชีวามากขึ้น โดยใช้สีคู่ร่วมจากเฟอร์นิเจอร์ประกอบได้เช่นกัน
ส่วนบริเวณพื้นที่อยู่ระหว่างห้องที่จัดด้วยสี Triadic สามารถใช้สีโทนกลางเป็นตัวเบรค สีสันหลากหลายได้เพื่อให้ดูกลมกลืน



aanbetta – stock.adobe.com
3.5 Rectangular & Square
หัวข้อนี้เราพูดถึงรูปแบบการเเมทช์คู่สีด้วยรูปร่างสี่เหลี่ยมบนวงล้อสี เป็นการรวมเอาคู่สีที่แตกต่างกันมาใช้ด้วยกัน เพิ่มมิติการเล่นสีสันภายในห้อง
ทั้งแบบ Rectangle เเละ Square การเลือกอุณหภูมิสีมีบทบาทสำคัญมาก พยายามเลือกสีโทนอบอุ่นสองสีและสีโทนเย็นสองสี เพื่อเติมเต็มช่องว่างให้เกิดความสมดุล




AntonSh – stock.adobe.com
การจับคู่สีแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตนี้มีหลากเทคนิคให้ลองได้ปรับใช้ แต่ละคู่สีก็สร้างเอกลักษณ์สำหรับพื้นที่ที่คุณต้องการสร้างจุดเด่นได้แตกต่างกันไป และแผ่นคอมโพสิตสามารถนำไปตกแต่งห้อง ออฟฟิศ ห้องประชุม เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ได้อีกมาก สร้างแบบอย่างที่ดูไม่จำเจอีกด้วย
คลิกเพื่อดูตัวอย่างสีอลูมิเนียมคอมโพสิตได้ที่ https://bewiding.com/color-chart/
หรือสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสีแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิตกับทางทีมงานได้ เรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ
ติดต่อบีไวด์ดิ้งได้ที่